top of page
  • Writer's pictureBomOlarn

"THAI FINTECH with OECD ให้ความเห็นเพื่อพัฒนาประเทศไทย”

Updated: Mar 18, 2020

สัปดาห์ที่ผ่านมาคุณโอฬาร วีระนนท์ ได้รับเกียรติจากคณะผู้แทนของ OECD ทั้งชาวฝรังเศส, ญี่ปุ่น และ มาเลเซีย ในการขอเข้าสัมภาษณ์มุมมองต่อการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ของประเทศไทย ทั้งในฐานะ CEO & Co-founder, DURIAN และในฐานะนายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย


From left : Mr.Patrick Lenain, Mr.Kosuke Suzuki, Ms.Isabelle Luong, Mr.Olarn Weranond and Mr.Tan Kay Kiang

ประเทศไทยมีทัศทางการพัฒนานวัตกรรมดีและโดดช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่ต้องบอกว่ารัฐบาล ช่วยขยายโอกาสให้อย่างมาก และมีการส่งเสริมอย่างเป็นระบบในหลากหลายด้านมากกว่ายุคใดๆ

ทั้งหากสัมผัสคนทำงานจริงในภาครัฐ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีคนจำนวนไม่น้อย ที่ตั้งใจมากๆ ในการขับเคลื่อนและผลักดันให้การพัฒนานวัตกรรม และดิจิทัลของประเทศไทยเดินหน้า และมีคนเก่งๆ มากมาย ที่ทั้งสละตัวเองเข้ามาทำงานสนับสนุนในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดี


อย่างไรก็ตามระบบการบริหารงานภาครัฐที่ฝังรากลึกมาแต่เดิม มีหลายสิ่งไม่เอื้อให้ความตั้งใจดีของผู้กำหนดนโยบาย ตั้งแต่ระดับสูงสุด ครม. รมต. และ ผู้นำกระทรวง สามารถปฏิบัติได้อย่างเห็นผล

- ระบบ ระเบียบ กฏหมาย ที่มีมากมาย และล้าหลัง ที่ไม่ใช่แค่ไม่สนับสนุน แต่ยังเป็นตัวฉุดการเติบโตของธุรกิจนวัตกรรมอย่างมาก แม้จะมีความตั้งใจดีจากผู้ใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันผลักดันการทำ "Regulatory guillotine" เพื่อกำจัดยกเลิกกฏหมายที่ล้าสมัย แต่ระบบกฏหมายไทย ที่มีเป็นแสนฉบับและเกี่ยวพันกันไปหมด ทำให้หากเรายังทำงานกันด้วย Speed เช่นนี้ อาจต้องอาศัยเวลาอีก 100 ปีในการแก้ไข


- การจัดซื้อจัดจ้าง ที่คนที่เข้าไปเกี่ยวข้องจริงจะเห็นช่องว่างที่ควรปรับปรุงมากมาย ที่เอื้อให้เกิดการทุจริต และแสวงหาประโยชน์จากช่องทางเหล่านี้


- ปัญหาทุจริต Corruption ที่แพร่อยู่ในหลายหน่วยงานทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่ทำให้บริษัทดีๆ เก่งๆ คนที่มีประสิทธิภาพหลายๆ คน ไม่สามารถทำงานในระบบนั้นๆ ได้ อีกทั้งบริษัทเอกชนที่ย่ามใจก็มีวิธีการตอบแทนให้ผู้ที่เอื้อประโยชน์ให้ตนอย่างเป็นระบบ


- ระบบการประเมินคุณภาพ ที่หากใช้องค์กรเอกชนที่เป็นกลาง ประเมินและตรวจสอบ เราอาจได้เห็นอีกมุมในการพัฒนา


- การไม่เข้าใจหัวใจของคนที่อยู่ในสนามรบ การทำงานทุกอย่างต้องรู้จัก “เร็ว ช้า หนัก เบา” หากเราเข้าใจและมีระบบที่รู้ว่า อันนี้ “ต้องเร็ว” ก็คือต้องช่วยกันดำเนินการให้รวดเร็วอย่างเป็๋นระบบ เพราะหลายสิ่งที่จะพัฒนาประเทศได้ แข่งกันที่ “ความเร็ว” และต้นทุนเวลาหลายครั้งสำคัญกว่าเรื่องใดๆ


- ผู้ที่ตั้งใจเข้ามาทำงานการเมือง หลายคนเป็นคนมีคุณภาพ แต่หากกระบวนการข้างล่างไม่สอดคล้องและขานรับก็ยากที่จะขยับ

ฯลฯ


ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่แค่มีแค่ประเทศไทย และไม่ได้พึ่งเกิดในยุคนี้ แต่เกิดมาช้านาน ไม่ใช่เราแก้ไม่ได้ แต่เราต้องเข้าใจ เข้าถึง และร่วมใจกันแก้ พร้อมสื่อสารอย่างเป็นระบบ หลายสิ่งจำเป็นต้องเกิดจากการขับเคลื่อนภาคประชาชน เพื่อผลักดันให้กลไกขยับ ในขณะที่บางสิ่งเริ่มต้นทันทันทีได้

Great Session between OECD and Thai Fintech Association

ขอบคุณ OECD จากหลายประเทศที่มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมอง ทั้งในฐานะองค์กร และบุคคล

Mr.Patrick Lenain, Assistant Director, Country Studies2, Economics Department

Mr.Kosuke Suzuki, Senior Economist, Country Studies2, Economics Department

Ms.Isabelle Luong, Statistician, Country Studies2, Economics Department

Mr.Tan Kay Kiang, Principal Assistant Director, Ministry of Economics Affairs, Malaysia

เราเชื่อว่าการแบ่งปัน ถ่ายทอด องค์ความรู้ ความร่วมมือ และการลงมือทำ คือหัวใจของการเปลี่ยนแปลง ร่วมเดินหน้าพัฒนาประเทศไทยไปด้วยกันครับ

ด้วยความปรารถนาดี

บอม โอฬาร วีระนนท์

CEO and Co-Founder, DURIAN

นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย


หมายเหตุ:

OECD : Organisation for Economic Co-operation and Development

คือ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และยอมรับระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการค้าเสรีในการร่วมกันและพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปและโลก ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 34 ประเทศ คือ ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, กรีซ, ไอซ์แลนด์, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, นอร์เวย์, เนเธอร์แลนด์ , โปรตุเกส, อังกฤษ, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, ตุรกี, สหรัฐอเมริกา, เยอรมัน, ชิลี, เช็ก, อิสราเอล, เม็กซิโก, ฮังการี, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, เกาหลีใต้, โปแลนด์, อิหร่าน, เอสโตเนีย, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สโลวีเนีย, ญี่ปุ่น และมีประเทศที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมองค์การคือประเทศ รัสเซีย มีองค์การสำคัญในองค์การโออีซีดีคือคณะมนตรี ( Council ) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมดโดยมีคณะกรรมการบริหารรวมทั้งเลขาธิการ สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่


Comments


bottom of page